ทำไมต้องบวชแต่หนุ่ม

ประเพณีบวชแต่หนุ่ม เมื่ออายุครบบวช คือ ๒๐ ปี เป็นรากฐานที่มั่นคง ของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยมานับพันปี ทำให้สังคมไทยเข้มแข็งด้วยศีลธรรม ประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข แต่ปัจจุบันสิ่งนี้เริ่มเลือนหายไป พร้อมกับความสุข และรอยยิ้มของชาวสยาม ดังนั้นการฟื้นฟูประเพณี “บวชแต่หนุ่ม” กลับมา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทย จำเป็นสำหรับครอบครัว และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับตัวผู้บวชเอง หากถามว่า ทำไมต้องบวชแต่หนุ่ม หาคำตอบได้จากเรื่องราวของพระรัฐบาลเถระ ดังนี้


        

         พระรัฐบาลเถระ ผู้เป็นเอตทัคคะเป็นเลิศทางออกบวชด้วยศรัทธา เป็นชาวแคว้นกุรุ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติ ญาติมิตร และบริวารมากมาย แต่ก็ออกบวชตั้งแต่ยังหนุ่ม ครั้นออกบวชแล้ว ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเวลาต่อมา ได้เดินทางกลับไปแคว้นกุรุเพื่อโปรดบิดามารดา พักอยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ ฝ่ายพระเจ้าโกรัพยะ ครั้นทราบข่าวจึงเสด็จไปสนทนาธรรม ความตอนหนึ่งได้ถาม

         ถึงเหตุแห่งการบวชแต่ยังหนุ่มของท่านพระรัฐบาล พระเถระ จึงแสดงธัมมุทเทส ๔ ดังนี้
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ข้อ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ธัมมุทเทส ๔ ข้อเป็นไฉน คือ

ธัมมุทเทส ข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชรานำเข้าไปไม่ยั่งยืน
ธัมมุทเทส ข้อที่สองว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่ เฉพาะตน
ธัมมุทเทส ข้อที่สามว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป
ธัมมุทเทส ข้อที่สี่ว่า โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา


        ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทส สี่ข้อนี้แล ที่อาตมภาพ รู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
(๑) “โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน”
         
         ท่านรัฐปาละกล่าวว่า “โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน” ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้จะพึงเห็นได้อย่างไร?

         “ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรเมื่อมีพระชนมายุ ๒๐ ปีก็ดี ๒๕ ปี ก็ดี ในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่องอาวุธก็ดี ทรงศึกษาอย่างคล่องแคล่ว ทรงมีกำลังพระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระวรกายสามารถ เคยทรงเข้าสงคราม มาแล้วมิใช่หรือ?”

         “ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีก็ดี ๒๕ ปีก็ดี ในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่องอาวุธก็ดี ได้ศึกษาอย่างคล่องแคล่ว มีกำลังขา มีกำลังแขน มีตนสามารถ เคยเข้าสงครามมาแล้ว บางครั้งข้าพเจ้าสำคัญ ว่ามีฤทธิ์ไม่เห็นใครจะเสมอด้วยกำลังของตน”

         “ดูก่อนมหาบพิตร แม้เดี๋ยวนี้ มหาบพิตรก็ยังมีกำลัง พระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระวรกายสามารถเข้าสงคราม เหมือนอย่างเดิมได้หรือ?”

         “ท่านรัฐปาละ ข้อนี้หามิได้ เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าแก่แล้ว เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลฝานวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของข้าพเจ้าล่วงเข้า ๘๐ บางครั้งข้าพเจ้าคิดว่า “จักย่างเท้าไปทางนี้ ก็ไพล่ย่างไปทางอื่นเสีย”

         “ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึง ตรัสธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า “โลกอันชรา นำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”

(๒) “โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน”
         “ในราชตระกูลนี้มีหมู่พลช้าง หมู่พลม้า หมู่พลรถ และ หมู่พลเดินเท้า ที่จักป้องกันอันตรายของเราได้ ท่านรัฐปาละ กลับกล่าวว่า “โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน” หมายความว่าอย่างไร”

         “ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรเคยทรงประชวรหนักบ้างหรือไม่”

         “ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าเคยเจ็บหนักอยู่ บางครั้ง บรรดามิตร อำมาตย์ญาติสาโลหิตแวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ ด้วยสำคัญว่า พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคต บัดนี้ พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคต บัดนี้”

         “ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ได้มิตร อำมาตย์ญาติสาโลหิต (ที่จะขอร้อง) ว่า “มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เจริญของเราที่มีอยู่ทั้งหมด จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลง” หรือว่า มหาบพิตรต้องเสวยเวทนาแต่พระองค์เดียว”

         “ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าจะได้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ที่ข้าพเจ้าจะขอร้อง) ว่า “มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตที่มีอยู่ทั้งหมด จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลงไป” หามิได้ ที่แท้ ข้าพเจ้าต้องเสวยเวทนานั้นแต่ผู้เดียว”

         “ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทส ข้อที่สองว่า “โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน” ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”



 ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทส สี่ข้อนี้แล ที่อาตมภาพ รู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
(๑) “โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน”
         
         ท่านรัฐปาละกล่าวว่า “โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน” ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้จะพึงเห็นได้อย่างไร?

         “ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรเมื่อมีพระชนมายุ ๒๐ ปีก็ดี ๒๕ ปี ก็ดี ในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่องอาวุธก็ดี ทรงศึกษาอย่างคล่องแคล่ว ทรงมีกำลังพระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระวรกายสามารถ เคยทรงเข้าสงคราม มาแล้วมิใช่หรือ?”

         “ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีก็ดี ๒๕ ปีก็ดี ในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่องอาวุธก็ดี ได้ศึกษาอย่างคล่องแคล่ว มีกำลังขา มีกำลังแขน มีตนสามารถ เคยเข้าสงครามมาแล้ว บางครั้งข้าพเจ้าสำคัญ ว่ามีฤทธิ์ไม่เห็นใครจะเสมอด้วยกำลังของตน”

         “ดูก่อนมหาบพิตร แม้เดี๋ยวนี้ มหาบพิตรก็ยังมีกำลัง พระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระวรกายสามารถเข้าสงคราม เหมือนอย่างเดิมได้หรือ?”

         “ท่านรัฐปาละ ข้อนี้หามิได้ เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าแก่แล้ว เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลฝานวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของข้าพเจ้าล่วงเข้า ๘๐ บางครั้งข้าพเจ้าคิดว่า “จักย่างเท้าไปทางนี้ ก็ไพล่ย่างไปทางอื่นเสีย”

         “ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึง ตรัสธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า “โลกอันชรา นำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”

(๒) “โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน”
         “ในราชตระกูลนี้มีหมู่พลช้าง หมู่พลม้า หมู่พลรถ และ หมู่พลเดินเท้า ที่จักป้องกันอันตรายของเราได้ ท่านรัฐปาละ กลับกล่าวว่า “โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน” หมายความว่าอย่างไร”

         “ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรเคยทรงประชวรหนักบ้างหรือไม่”

         “ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าเคยเจ็บหนักอยู่ บางครั้ง บรรดามิตร อำมาตย์ญาติสาโลหิตแวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ ด้วยสำคัญว่า พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคต บัดนี้ พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคต บัดนี้”

         “ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ได้มิตร อำมาตย์ญาติสาโลหิต (ที่จะขอร้อง) ว่า “มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เจริญของเราที่มีอยู่ทั้งหมด จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลง” หรือว่า มหาบพิตรต้องเสวยเวทนาแต่พระองค์เดียว”

         “ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าจะได้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ที่ข้าพเจ้าจะขอร้อง) ว่า “มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตที่มีอยู่ทั้งหมด จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลงไป” หามิได้ ที่แท้ ข้าพเจ้าต้องเสวยเวทนานั้นแต่ผู้เดียว”

         “ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทส ข้อที่สองว่า “โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน” ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”


(๓) “โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องทิ้งสิ่งทั้งปวงไป”
         “ในราชตระกูลนี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและใน อากาศมากมาย ท่านรัฐปาละกลับกล่าวว่า “โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องทิ้งสิ่งทั้งปวงไป” หมายความว่าอย่างไร”

         “ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อ นั้นเป็นไฉน เดี๋ยวนี้ มหาบพิตรเอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอพระองค์อยู่ ฉันใด มหาบพิตรจักได้สมพระราชประสงค์ ว่า แม้ในโลกหน้า เราจักเป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฉันนั้น หรือว่าชนเหล่าอื่นจักปกครองโภคสมบัติ นี้ ส่วนมหาบพิตรก็จักเสด็จไปตามยถากรรม”

         “ท่านรัฐปาละ เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฉันใด ข้าพเจ้าจักไม่ได้ตาม ความประสงค์ว่า แม้ในโลกหน้า เราจะเป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อม ด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฉันนั้น ที่แท้ ชนเหล่าอื่นจัก ปกครองโภคสมบัตินี้ ส่วนข้าพเจ้าก็จักไปตามยถากรรม”

         “ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทสข้อที่สามว่า “โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งส่งทั้งปวงไป “ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”


(๔) “โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา”
         
         “ท่านรัฐปาละกล่าวว่า “โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา “หมายความว่าอย่างไร”

         “ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อ นั้นเป็นไฉน มหาบพิตรทรงครอบครองกุรุรัฐอันอุดมสมบูรณ์ อยู่หรือ”

         “อย่างนั้น ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าครอบครองกุรุรัฐอันอุดมสมบูรณ์อยู่”

         “มหาบพิตรจักเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ราชบุรุษ ของมหาบพิตรที่กุรุรัฐนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุผล พึงมา จากทิศบูรพา… จากทิศปัจจิม… จากทิศอุดร… จากทิศทักษิณ… จาก สมุทรฟากโน้น เขาเข้ามาเฝ้ามหาบพิตรแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า

         “ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์พึงทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากทิศบูรพา… จากทิศป็จจิม… จากทิศอุดร… จากทิศทักษิณ… จากสมุทรฟากโน้น ในทิศนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ในชนบทนั้น มืพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้ามาก มีสัตว์ที่มีเขี้ยวงามาก มีเงินและทองทั้งที่ยังไม่ได้หลอม ทั้งที่หลอมแล้วก็มาก ในชนบทนั้นสตรีเป็นผู้ปกครอง พระองค์อาจจะรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์ จงไปรบเอาเถิด มหาราชเจ้า” มหาบพิตรจะทรงทำ อย่างไรกะชนบทนั้น”

         “ท่านรัฐปาละ พวกเราก็ไปรบเอาชนบทนั้นมา ครอบครองเสียน่ะชิ”

         “ดูก่อน มหาบพิตร เนื้อความนี้แล อันพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทสข้อที่สี่ ว่า

         “โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา” ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต”

         หากไม่รีบบวชแต่หนุ่ม ปล่อยให้ความชรา โรคภัย วิบาก กรรม หรือตัณหาเข้าครอบงำเสียแล้ว ก็จะหมดโอกาสที่จะได้ บวชฝึกอบรมกายใจด้วยพระธรรมวินัย อันเป็น “วิชาชีวิต” ซึ่ง สำคัญยิ่งกว่า “วิชาชีพ” ที่เราศึกษาจากสถาบันการศึกษาเป็น ไหนๆ เพราะวิชาชีวิตนี้จะช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขทั้งภพชาตินี้ และชาติต่อๆ ไปจนถึงที่สุดแห่งธรรม



สมัครบวชโครงการอุปสมบทหมู่ เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย


0 comments:

แสดงความคิดเห็น

Khaoden9